วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 15



  1.การส่งต่อจากครอบครัวหรือผู้เชี่ยวชาญ คือ ส่งต่อมาจากแพทย์หรือเด็กที่มีความพิการตั้งแต่แรกที่เห็นชัด เราก็จะมาสัมภาษณ์เบื้องต้น
     2.ประเมินพัฒนาการตามวัย
     3.การจัดแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล คือ เพื่อวางแผนการเรียนรู้เฉพาะทักษะ 6 ด้าน ส่วนการจัดแผนการศึกษาเฉพาะครอบครัว เด็กอายุ 0-3 ขวบ จะจัดแผน IFSP
     4.การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะอย่างรอบด้าน
     5.การประเมิน
การออกแบบกิจกรรมเพื่อกระตุ้นพัฒนาการอย่างรอบด้าน
  • กิจกรรมพัฒนาการเคลื่อนไหว การทรงตัว ภาษา
  • กิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็ก และสมาธิ
  • กิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก การรับรู้สัมผัส
  • กิจกรรมพัฒนาทักษะการมอง ทำตามคำสั่งและการสื่อสาร
  • กิจกรรมพัฒนาทักษะการมอง ทำตามคำสั่งและพื้นฐานวิชาการ
  • กิจกรรมพัฒนาทักษะการฟัง การทรงตัว การสัมผัส
ความรู้เพิ่มเติม
     Early Intervention : EI การให้บริการช่วยเหลือผู้ที่มีความบกพร่องประเภทต่างๆ ตั้งแต่แรกเกิดหรือแรกพบความพิการตามความต้องการจำเป็นพิเศษของแต่ละบุคคลโดยมุ่งการให้ความช่วยเหลือเริ่มต้นเร็วที่สุด ก็จะสามารถทำให้เด็กได้รับประโยชน์มากขึ้นเท่านั้น
1. ความหมายของการให้บริหารช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม ( Early Intervention : EI )
     การให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม (Early Intervention : EI ) หมายถึงการจัดโปรแกรมที่เป็นระบบในการให้บริการด้านต่าง ๆ โดยเร็วที่สุดแก่เด็กที่มีความเสี่ยงทุกระดับทันทีตั้งแต่แรกเกิดหรือทันที ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีความพิการ โดยมุ่งเน้นการให้การศึกษากับพ่อแม่และครอบครัว ทั้งนี้มุ่งพัฒนาเด็กให้ได้รับบริการจากนักวิชาชีพที่หลากหลายทั้งด้านการ ศึกษา ด้านสุขภาพอนามัย การบำบัดรักษา ตลอดจนป้องกัน ความพิการที่จะเกิดขึ้นเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการไปตามขั้นตอน เช่นเดียวกับเด็กทั่วไป หรือใกล้เคียงเด็กทั่วไปมากที่สุด
2. ความสำคัญในการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม
     เบญจา ชลธาร์นนท์ (2538) ได้กล่าวถึงเหตุผลความจำเป็นที่ต้องให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มไว้ 4 ประการ ดังนี้
     (1) การให้การช่วยเหลือในระยะแรก ๆ ของชีวิตจะช่วยค้ำจุนพัฒนาการของเด็กและทำให้เด็กสามารถพัฒนาได้ถึงขีดสูงสุด
     (2) หากไม่ให้การช่วยเหลือที่ครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านสุขภาพอนามัย ด้านจิตวิทยาและการศึกษาแล้ว เด็กที่มีความบกพร่องและเด็กที่อยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง (High risk group) ที่มีปัญหาในเรื่องพัฒนาการ อาจไม่สามารถพัฒนาทักษะของเขาในวัยตอนต้นของชีวิตและพัฒนาความสัมพันธ์ ที่จำเป็นที่จะดำเนินชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
     (3) การให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มมีจุดมุ่งหมายสำคัญ เพื่อป้องกันความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นก่อนหรือระหว่างคลอด และแก้ไขความบกพร่องนั้น
     (4) การที่ประเทศไทยได้ยึดถือเอา “การเรียนร่วม” เป็นรูปแบบหนึ่งในการจัดบริการการศึกษาพิเศษให้แก่เด็กที่มีความบกพร่องต่าง ๆ เด็กเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับบริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม หรือการศึกษาระยะแรกเริ่ม เพื่อเตรียมให้สามารถเข้าเรียนร่วมในระดับอนุบาลศึกษา และประถมศึกษาต่อไป
ดังนั้นการให้ความช่วยเหลือเด็กพิการจึงควรเริ่มโดยเร็วที่สุด การให้ความช่วยเหลือเร็วเท่าใดยิ่งทำให้เด็กได้รับประโยชน์มากขึ้นเท่านั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการค้นหาสภาพความพิการได้เร็วนั่นเอง


1. หากเด็กเริ่มยุกยิก หรือไปออกจากกิจกรรมที่กำลังทำอยู่ ครูจะต้องสังเกตว่าเด็กลุกไปทำอะไร 
    อาจมีช่วงที่เด็กเหม่อลอย ครูควรเรียกชื่อ แล้วสัมผัสโดยลูกศีรษะ, จับมือ, จับแขน แล้วชวนให้
   ไปทำงานต่อโดยจูงเด็กกลับไปทำงาน 
2. ให้ความสนใจ เมื่อเด็กทำตัวดี ให้คำชื่นชมมากๆ
3. หากเด็กซนมากๆ ครูต้องลดแรงขับ เช่น ไม่ให้ออกไปเล่น เพราะหนูทำผิด
4. การพูดคุยกับเด็กให้พูดสั้นๆกระชับ เข้าใจง่าย เช่น "น้องปลาหยุด ไม่ทำ" 
5. สามารถจัดกิจกรรมบำบัดให้กับเด็กได้อย่างเหมาะสม เช่น ปั้นดินน้ำมัน เพื่อลดแรงขับ,
   เดินบนกระดาษไม้ หรือทางแคบๆ เพื่อควบคุมตนเอง, แกว่งชิงช้า เพื่อให้เด็กรู้สึกผ่อนคลาย เป็นต้น
6. สามาถจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนให้เหมาะสมกับเด็กได้ เช่น การจัดวางของเล่นในมุมต่างๆ
   ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยมากที่สุด เพราะจะได้ไม่เป็นสิ่งกระตุ้น หรือดึงดูดให้เด็กเข้าไปหยิบเล่นซน
   ขณะที่ยังไม่ใช่เวลาเล่น เด็กจะได้มีสมาธิในกิจกรรมที่กำลังทำอยู่

การประเมิน


การประเมินตนเอง   : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน และจดบันทึกเพิ่มเติม
                               ที่อาจารย์สอน ชอบดูวีดีโอที่อาจารย์นำมาสอน เพราะเป็นเรื่องที่น่าสนใจ 
                               เป็นศูนย์ EI มีบุคคลากรที่ทำงานกับเด็กพิเศษ ให้การช่วยเหลือ เลี้ยงดูเด็ก
                               และสร้างเสริมพัฒนาการให้เด็กพิเศษ 
                               ดูแล้วรู้สึกอยากไปช่วยจัดกิจกรรมให้กับเด็กพิเศษมากค่ะ 
การประเมินเพื่อน     : เพื่อนบางคนเข้าเรียนตรงเวลาบ้าง และบางคนเข้าสายบ้างเล็กน้อย
                                แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน มีการโต้ตอบ แสดงความคิดเห็นเมื่ออาจารย์ถาม 
                                ให้ความร่วมมือในการแสดงบทบาทสมมตต่างๆ เช่น ออย เล่นเป็นเด็กสมาธิสั้น 
                                ทำให้เพื่อนๆหัวเราะ และบรรยากาศในห้องเรียนเกิดความสนุกสนาน 
การประเมินอาจารย์  : เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  อาจารย์มีเทคนิกในการสอนที่ 
                                ใครได้เรียนต้องบอกเลยว่า ติดใจ ^^ เพราะอาจารย์สอนสนุกทุกครั้ง
                                เอกสารประกอบการเรียนมีเนื้อหาที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน 
                                อาจารย์สอนเทคนิกที่สามารถนำไปใช้ได้จริงกับเด็กพิเศษ 
                                มีการแสดงบทบาทสมมต เพื่อให้นักศึกษาได้เห็น และเข้าใจมากขึ้น
                                ซึ่งจะทำให้นักศึกษาจดจำได้ดีกว่าการสอนที่บรรยายล้วนๆ 
                                มีสื่อคือ วีดีโอที่ให้ความรู้ และน่าสนใจมาก สามารถนำไปใช้ได้จริงกับเด็กพิเศษ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น